วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

kraithongs.blogspot.com

                                           

                                                                 นายเพ็ญเพชร     ไกรทอง   ชั้นปีที่1























มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน      youtube       
                                                                 
                                                                 

ประวัติ มมร.อส

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2533 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้สถาปนา วิทยาเขตแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ให้ชื่อว่าสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน  ณ  วัดศรีจันทร์(พระอารามหลวง) อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ภายหลัง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ชื่อใหม่ว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และได้ย้ายไปอยู่  ณ  บ้านโนนชัย  ถนนราษฎร์คนึง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสถาปนา ดังนี้ คือ
     1. เพื่อเป็นสถานศึกษาด้านพระพุทธศาสนา
     2. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ
     3. เพื่อให้ศาสนทายาทได้เป็นกำลังในการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเป็นศาสนทายาทที่เหมาะสมกับกาลสมัย
     4. เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทางพระพุทธศาสนา และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประติมากรรมทางพระพุทธศาสนา
     ทั้งนี้ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน แบ่งส่วนการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วนงาน คือ
     1. สำนักงานวิทยาเขตอีสาน
     2. ศูนย์บริการวิชาการอีสาน
     3. วิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน
     เริ่มเปิดให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2543 เป็นต้นมา และได้เปิดศูนย์การศึกษาขึ้นมาอีก 2 แห่งคือ
     1. ศูนย์การศึกษาอุบลราชธานี
     2. ศูนย์การศึกษาหนองบัวลำภู







วิชาประวัติพระพุทธศาสนา

















           
                                                                                                                                                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น