วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556


รายงาน

วิชาไทยศึกษา( GE2009 )

เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

  จัดทำโดย

  สามเณร สิทธิชัย  ศิลา
 นาย กรกช  ดวงมาลา
     นาย เพ็ญเพชร ไกรทอง
  นายรณกรณ์ บุดสีสวย
          นางสาว วารี  วะเศษสร้อย
               นางสาวหนึ่งฤดี  ศรีประพันธ์

    เสนอ

             พระอาจารย์สมัย  ผาสุโก (หาสุข)
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ไทยศึกษา
 คณะศึกษาศาสตร์  สาขาการสอนภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556

      คำนำ

รายงานเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อประกอบการเรียนรายวิชาไทยศึกษา  ซึ่งรายงานนี้ประกอบไปด้วยเกี่ยวกับ  วัตถุประสงค์เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน  และ สรุป เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น  งานฉบับนี้สำเร็จออกมาได้โดย
ผู้จัดทำค้นคว้าเนื้อหาทั้งหมดจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ    จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ  ผู้สนใจทั่วไป และหากรายงานนี้มีข้อบกพร่องประการใด หวังว่าคงจะได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย  ผู้จัดทำจึงขอขอบคุณล่วงหน้า ณ โอกาสนี้




                                                                                                       คณะผู้จัดทำ
                                                                                             สามเณร สิทธิชัย    ศิลา
                                                                                                         และคณะ




สารบัญ
                       เรื่อง                                                                                                             หน้า                                                                                                      
   คำนำ                                                                                                                                   
   สารบัญ                                                                                                                               
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง                                                                                                 1
ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น                                                                    4
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                                                         12
-ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา                                                                    16 
-ประเพณี พิธีกรรมในสังคมไทย                                                                                  19
-ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้าน                             23
-ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน                                                    26
-ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน                                                                  29
บรรณานุกรม                                                                                                                      ค






ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัวและความเข้าใจ และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และดำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น
ดังนั้นภูมิปัญญาไทย จึงหมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ที่ประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็นแนวความคิดสำหรับแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าว แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลา  
คำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน ทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณีความรู้เป็นคุณธรรเมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนสิ่งเหนือธรรมชาติ
คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
 คุณค่าของภูมิปัญญาไทย
                  ได้แก่ ประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุสถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่าและความสำคัญดังนี้ 

ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
               พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชนด้วยพระเมตตาแบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อนก็สามารถตีระฆังแสดงความเดือดร้อนเพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ต่อประเทศชาติ ร่วมกันสร้างบ้านเรือนจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น

                  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถีจนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้
                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติหลายครั้งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกร ทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา แนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นโดยเริ่มจาก 
          

            ขั้นตอนที่ ให้เกษตรกรรายย่อย "มีพออยู่พอกิน" เป็นขั้นพื้นฐาน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยราชการมูลนิธิ และหน่วยงานเอกชน ร่วมใจกันพัฒนาสังคมไทย 

            ขั้นตอนที่ เกษตรกรต้องมีความเข้าใจในการจัดการในไร่นาของตน และมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิตและการตลาด การลดรายจ่ายด้านความเป็นอยู่ โดยทรงตระหนักถึงบทบาทขององค์กรเอกชน เมื่อกลุ่มเกษตรวิวัฒน์มาขั้นที่ ๒แล้ว ก็จะมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่
            ขั้นตอนที่ ซึ่งจะมีอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์กับสถาบันการเงินคือธนาคาร และองค์กรที่เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิตโดยมีการแปรรูปผลิตผล เช่น โรงสี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผล และขณะเดียวกันมีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคมจะเห็นได้ว่ามิได้ทรงทอดทิ้งหลักของความ สามัคคีในสังคมและการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรสร้างอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจจึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจัดได้ว่าเป็นสังคมเกษตรที่พัฒนาแล้ว สมดังพระ-ราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระสติปัญญา ในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชสัมบัติ



สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย 
            คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทยจนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา

          ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูดใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น

สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม
          คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อน-น้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอมรักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะแห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบ "พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้" เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิ-ปัญญาในการนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา
สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคมและธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒ เดือนตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงเป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำในฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็นจึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือนและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชาระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำลำธาร บูชาแม่น้ำจากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติทั้งสิ้น

          ในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก
          อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกินแบบ "เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน" ของพ่อทองดี นันทะ เมื่อเหลือกินก็แจกญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริงๆ จึงจะนำไปขาย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบ "กิน-แจก-แลก-ขาย" ทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรักนับถือ เป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิดกับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความสมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ 

เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย
         แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นการรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่นกลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้

          เมื่อป่าถูกทำลายเพราะถูกตัดโค่นเพื่อปลูกพืชแบบเดี่ยวตามภูมิปัญญาสมัยใหม่ที่หวังร่ำรวยแต่ในที่สุดก็ขาดทุนและมีหนี้สิน สภาพแวดล้อมสูญเสียเกิดความแห้งแล้ง คนไทยจึงคิดปลูกป่าที่กินได้ มีพืชสวน พืชป่า ไม้ผลพืชสมุนไพรซึ่งสามารถมีกินตลอดชีวิตเรียกว่า "วนเกษตร"บางพื้นที่เมื่อป่าชุมชนถูกทำลาย คนในชุมชนก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มรักษาป่า ร่วมกันสร้างระเบียบกฎเกณฑ์กันเอง ให้ทุกคนถือปฏิบัติได้ สามารถรักษาป่าได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม
          เมื่อปะการังธรรมชาติถูกทำลาย ปลาไม่มีที่อยู่อาศัย ประชาชนสามารถสร้าง "อูหยัม" ขึ้นเป็นปะการังเทียม ให้ปลาอาศัยวางไข่และแพร่พันธุ์ให้เจริญเติบโตมีจำนวนมากดังเดิมได้ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ตามยุคสมัย




ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 5 ลักษณะได้ดังนี้
       1. ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา  ภูมิปัญญาประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากมีพื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนั้นได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคม โดยการผสมผสานกับความเชื่อดังเดิมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
1.1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคเหนือ คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้

ได้แก่ การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยการพึ่งพาธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพ เช่นชุมชนภูเขา มีความเชื่อในเรื่องของผีป่า เจ้าป่า เทพารักษ์ ผู้อยู่ตามพื้นราบเชื่อในเรื่องพระภูมิเจ้าที่ พระภูมินา การสู่ขวัญ แม่ย่า นางเรือ เป็น ความคิดความเชื่อเหล่า นี้จะนำมาสู่การพัฒนาชีวิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำ การจัดทำพิธีกรรมบวชต้นไม้ การจัดตั้งป่าสมุนไพร สหกรณ์หมู่บ้าน ธนาคารโค กระบือ ธนาคารข้าว กลุ้มทอผ้า กลุ่มฌาปนกิจ เป็นต้น


1.2. คนอีสานนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ คือ ผีปู่ตา และผีฟ้า คือ แถน ควบคู่ไปกับการนับถือพระพุทธศาสนา
ฉะนั้นในแต่ละหมู่บ้านทางภาคอีสาน จะต้องมี " ดอนปู่ตา " ซึ่งเป็นที่ดอนมีต้นไม้ใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนักตั้งศาลเรียกว่า "ตูบ" 4 เสาขึ้นเพื่อเป็นที่สถิตของบรรพบุรุษ กลางหมู่บ้านก็จะต้อง " หลักบ้าน" เป็นเสาไม้มงคลมีเสาเอก   และเสาบริวารเป็นที่สิงสถิตของเทพารักษ์ เพื่ออารักขาให้หมู่บ้านอยู่ดีมีสุขและจะมีพิธีเซ่นสรวงในเดือน 7 เรียก บุญซำฮะ
       การถือฤกษ์ยามในการปลูกเรือน   ในเดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เดือนเก้า เดือนสิบสอง   ถือเป็นฤกษ์ที่ดีในการปลูกเรือน โดยเฉพาะในเดือนหกและเดือนเก้า
        ทำเลการปลูกเรือน   ทำเลที่เหมาะในการปลูกเรือน     เช่น     รูปดวงจันทร์รูปมะนาวตัดรูปเรือสำเภาและรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นความเชื่อสำหรับผู้ครองเรือนในทุกภูมิภาคเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลต่อผู้อยู่อาศัย ในภาคอีสานก็เช่นเดียวกันหากจะมีคติความเชื่อในเรื่องทิศและชัยภูมิที่ดินเพิ่มเติมคือหากเป็นแผ่นดินที่สูงทางใต้ ต่ำทางเหนือ เป็นที่ ไชยะ แผ่นดินที่สูงทางตะวันตก ต่ำทางตะวันออกเป็นที่ยะสะศรี แผ่นดินที่สูงทางพายัพ ต่ำทางทักษิณ เป็นที่ สะศรี ถือว่าเป็นทำเลที่ดี
         เลือกเสาเรือน   การเลือกไม้ทำเสาเรือนในภาคอีสานเป้นความสำคัญอันดับแรกเช่นเดียวกับ
ภาคอื่นลักษณะของเสาเรือนที่ดี สำหรับคนอีสาน เชื่อว่าควรคัดเสาต้นตรง 4 ประเภท คือต้นเสากลาง
เสาและปลายเสาขนาดเท่ากันต้นเสาใหญ่ ปลายเสาเล็ก เป็นเสาตัวเมียดี ต้นเสาเล็กปลายเสาใหญ่กลางเสาเล็กไม่ดีเสาอมเปลือกเสาอมเปลือก เสาคด เสาเป็นตาเป็นรอยไม่ดี
                  "เสาแฮก"  หรือเสาแรกซึ่งเป็นเสาสำคัญในการปลูกเรือนให้เลือกไม้ซึ่งเกิดในที่ราบเรียบใบไม่ระเกะระกะกับต้นอื่นลำต้นปลอดเกลี้ยงใบดกมองดูคล้ายพระภิกษุยืนกางกลดกิ่งใบไม่เหี่ยวแห้งมีนกหนูและมดดำแดงอาศัยอยู่มาก ควรนำมาทำเสาแรกเจ้าของเรือนจะอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวของเงินทอง
                 "เสาขวัญ" เสาสำคัญอันดับรอง ให้เลือกไม้ที่เกิดบนดินแล้วลาดต่ำลงมา ซึ่งมีลำต้นสูงกว่าต้นอื่น ๆ กิ่งใบไม่เหี่ยวแห้ง เวลาสงัดไม่มีลมจะมีใบหนึ่งไหวติงอยู่ไม่ขาดระยะไม้ต้นนี้เมื่อเลือกมาทำเป็นเสาขวัญเจ้าของเรือนจะมั่งคั่งมั่งมี
                 วิธีคัดเลือกเสาวิธีหนึ่งคือ การดูตาเสาเช่นเดียวกับภาคกลาง เสาที่เป็นมงคลควรเป็นเสาปลอดคือมีตาเสาบางอย่างที่ให้คุณ เช่น ตาก้นหอย คือ เสาที่มีตาเป็นขอดเหมือนก้นหอย ตาดาวเรือง คือ เสาที่มีตาเล็ก ๆเป็นนมหนูทั่วไปตามลำเสาทั้งสองลักษณะนี้เป็นมงคลนัก
               "โสก" สัดส่วนที่เป็นมงคล   การโสก หมายถึงการกระทำที่ถูกโฉลก คือ สัดส่วนความกว้างยาวสูงที่เป็นมงคล ถ้าดีเรียกว่า ถูกโสก องค์ประกอบของเครื่องเรือนที่นิยมโสก หาสัดส่วนที่เป็นมงคลได้แก่ เสาเรือนกะทอดเรือน (พรึง) บันไดเรือน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น วิธีโสกความยาวของเสาเรือน จะใช้เท้าเจ้าของเรือนทาบแล้วนับตามลำดับ
                การฝังของมงคล  ในบริเวณบ้านเรือนสมัยโบราณ มีการฝังของมงคลไว้ตามทิศต่าง ๆ เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง ของที่ควรฝังอาทิ ทองคำ - ทิศบูรพา   เงิน -ทิศอาคเนย์
เหล็ก  -  ทิศทักษิณ   ตะกั่ว - ทิศหรดี   ทอง -ทิศปัจฉิม   แก้ว  - ทิศพายัพ เขา - ทิศอุดร งา - ทิศอีสาน 
                 ปลูกต้นไม้มงคล   ในภาคอีสานถือว่าต้นไม้เป็นมงคลอย่างหนึ่ง หากปลูกให้ถูกทิศทางจะเกิดความสุขความเจริญ คตินี้ปรากฏในภาคกลางเช่นเดียวกัน ต้นไม้มงคลตามทิศของภาคอีสาน มีดังนี้
ทิศบูรพา - ปลูกกุ่ม ก่าม กระถิน มะพร้าว หมาก พลู ทิศอาคเนย์ - ปลูกต้นยอ ทิศทักษิณ - ปลูกมะม่วง
มะเฟือง มะไฟ     ทิศหรดี  - ปลูกต้นคูณ สะเดา ขนุน   ทิศปัจฉิม - ปลูกมะขาม มะยม   ทิศพายัพ -
ปลูกมะกรูดมะนาว    ทิศอุดร - ปลูกต้นหมากตัน(พุทรา)   ทิศอีสาน - ปลูกดอกรัก ต้นแพง
1.3. คติความเชื่อของภาคกลาง  ฤกษ์ปราบดินคือการหาผู้รู้หรือโหรตรวจดูที่ดิน หาฤกษ์ปราบดิน สำรวจที่ดินว่าจะเป็นโขดเป็นเนินปลวก มีหลักตอ มีขอนท่อนไม้หรืออะไรที่แกะกะจมฝังดินอยู่บ้างหรือไม่ถ้ามีก็จัดการถอนทิ้งและปราบดินให้เรียบวิธีชิมรสดิน  ขุดหลุมลึกราวศอกเศษเอาใบตองปูไว้ใต้ก้นหลุมนำหญ้าคาสดและสะอาดทับไว้ข้างบนใบตองสักกองหนึ่ง ทิ้งไว้ค้างคืนจนไปดินเป็นเหื่อที่จับบนใบตองถ้ามีรสหวานแสดงว่าที่นั่นมีคุณสมบัติปานกลางพออยู่ได้  ถ้ามีรสจืดถือว่าดีเป็นมงคลอยู่เย็นเป็นสุข    หากมีรสเค็มและรสเปรี้ยวไม่

เป็นการดี ส่วน วิธีดมดินให้ขุดดินขึ้นมาดมดู ถ้ามีกลิ่นหอมดังดอกบัวหรือดอกสารภี แสดงว่าที่นั่นอุดมสมบูรณ์ ดีนักเรียกว่าที่พราหมณ์   ถ้ากลิ่นหอมดังดอกพิกุลเรียกว่าสัตภูมิดี  เช่นกันจะอยู่เย็นเป็นสุขถ้ากลิ่นหอมเย็นหรือหอมดังดอกไม้อย่างอื่น   ก็ถือเป็นพื้นที่ที่ดีเหมือนกัน ถ้ากลิ่นเผ็ดหรือกลิ่นเหม็นกลิ่น
เค็มถือว่าเป็นทำเลที่ไม่ดีเสาเรือนและโฉลกเสาเรือนการเลือกเสาเรือนข้อสำคัญอยู่ที่รู้จักเลือกเสาที่ดีมีความคงทนไม่มีตำหนิเป็นตาไม้ในที่สำคัญ หรือมีรูที่ทำให้มดปลวกตัวแมงเจาะชอนไชเข้าไปได้ ลักษณะของเสาและเตาเสาที่ดีสำหรับเลือกใช้เป็นเสาเรือนนั้น ให้เลือกเสาที่มีโคนต้นและข้างปลายใหญ่เสมอกัน ซึ่งได้ชื่อว่า "อุดมพฤกษ์" จัดเป็นไม้ที่ดีมากหรือจะเลือกเสาที่โคนต้นใหญ่ข้างปลายเล็กซึ่งได้ชื่อว่า " ไม้ตัวเมีย"  ก็ได้ เพราะจัดเป็นไม้ที่ดีตามตำราปลูกเรือนในคติโหราศาสตร์ ส่วนเสาที่ไม่ควรเลือกมาทำเสาเรือน คือ เสาที่มีตาเข้าลักษณะ เป็ดไซ้ ไก่ตอด สลักรอด หมูสี หรือเสาคตอย่างน่องช้างคือเป็นเสาที่มีตาอยู่ในตำแหน่งที่เป็ดมาใช้ไก่มาตอด หมูเอาสีข้างมาสีกับเสาเรือนเหล่านี้จะทำให้เสาเรือนสึกหรแมลงและปลวกสามารถชอนไชเข้าทำรังได้  เสาสำหรับปลูกเรือนมักใช้ไม้เต็งรังเพราะมีขนาดทำเสาเรือนได้เหมาะเนื้อไม้แข็งแกร่งคงทนฝังอยู่ใต้ดินได้ไม่ผุ หากเป็นถิ่นที่หาไม้เต็งไม้รังได้ยากเช่น ภาคเหนือ จะใช้ไม้สักแทน ไม้บางชนิดไม่นิยมใช้ทำเสาเรือน อาทิ ไม้ซาก ไม้กะเบ ไม้พยอม คำว่า ซาก บก (แห้ง) เบาย่อมถือว่าชื่อไม่เป็นมงคลไม้ตะเคียนก็ห้ามไม่ให้ใช้เพราะมีน้ำมันมากถ้าใช้เป็นเสามักตกมัน ถือกันว่าเป็นอัปมงคล  เสาเรือนจัดไว้เป็น   5  ชนิด คือ เสาดั้ง เสาเอก เสาโท เสาตรี และเสาพล หรือ เสาสามัญ  เสาเอกคือเสาต้นที่ดีงามกว่าเพื่อนรองลงมาเป็นเสาโทเสาตรีนอกนั้นถือเป็นเสาสามัญทุกเสาต้องมีขนาดและความสูงพอกันทุกเสาก่อนจะเจาะสลักรูรอดเสา ให้ทำการวัดโฉลก คำโฉลกมี  ชยกํ  ปริคตํ  นวทํ กล่าว คาถาจนกว่าจะถึงตรงที่หมายเอาไว้ จะตกโฉลกโชคชัยอย่างไร จึงจะได้ส่วนที่เป็นมงคล

                 การขุดหลุม  ก่อนปลูกเรือนโหรจะตรวจดูพื้นดินว่าเดือนใดนาคหันหัวและหลังไปทิศใดแล้วจึงขุดหลุมที่ตำแหน่งท้องนาคโดยคนขุดหลุมต้องหมุนหน้าเข้าหาท้องนาคเสมอ เมื่อจะขุดหลุมเสาแรกต้องทำเครื่องบัดพลีบูชาพญานาคเสียก่อน ใช้ไม้ราชพฤกษ์และไม้อินทนิลทำด้ามเสียม สำหรับขุดให้หาคนชื่ออินทร พรหม ชัย แก้ว ทำหน้าที่ขุดหลุมให้ครบตามจำนวนที่ประมาณไว้
                 ทำบัดพลี   ก่อนเริ่มทำขวัญเสาและยกเสาสงหลุมต้องทำบัดพลี คือ ปลูกศาลเพียงตาไหว้พระภูมิเจ้าที่เพื่อขอที่ดินต่อผู้รักษาผืนดินก่อน เครื่องบัดพลีที่ใช้มี หมาก พลู มะพร้าวอ่อนขนมต้ม

แดง ต้มขาว กล้วยน้ำว้า ไข่ต้ม หมู ฯลฯ ให้วางเครื่องบัดพลีบริเวณหลุมเสาของห้องนอน มีการเจิม หัวเสา  ลงยันต์ตรีนิสิงเห มีต้นอ้อยหน่อกล้วย น้ำว้าผูก ติดกับติดกับเสาเอก  ทำขวัญเสา เมื่อขุดหลุมเสาเสร็จ รุ่งขึ้นเป็นฤกษ์ทำขวัญเสาและยกเสาลงหลุม โดยเริ่มงานแต่เช้าตรู่หลังทำบัดพลีแก่เจ้าที่เจ้าทางและสังเวยผีนางไม้ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสาเสร็จแล้ว จึงทำขวัญเสาซึ่งมี บายศรีเช่นเดียวกับพิธีทำขวัญอื่นๆ โดยกล่าวบทเชิญขวัญไปตลอดและจบลงที่กล่าวให้พร
แก่ผู้เป็นเจ้าของเรือนพิธีทำขวัญ  อาจมีปี่พาทย์ประโคมและนิมนต์พระพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บทชัยมงคล

                 ยกเสาเรือน   เสาแรกที่ต้องยกเป็นเสาเอก ให้ปักเสาเอกเป็นฤกษ์ทางทิศตะวันออก หรือทิศอื่น ๆที่โหรกำหนดเป็นทิศฤกษ์ ห้ามปักในทิศตะวันตก ลำดับต่อไปปักเสาโทในทิศตรงข้ามกับเสาเอกแล้วปักเสาตรีเวียนไปทางขวาและปักเสาอื่นๆ ในทำนองเดียวกันจนครบจำนวนการปักเสาต้องให้ปลายเสาหันไปในทิศที่โหรตรวจดูให้เป็นมงคล
1.4. คติความเชื่อของภาคใต้
ในการปลูกเรือนของคนภาคใต้เชื่อถือโชคลางเช่นกันเช่นห้ามปลูกเรือนบนจอมปลวกห้ามปลูกบ้านคร่อม

ตอไม้ห้ามสร้างบ้านบนทางสัญจร

- การเลือกที่ดินที่เป็นมงคล  ให้ดูสีพื้นดินที่เป็นสีอ่อน หรือดินสีแดง สีเหลืองกลิ่นหอมรสฝาดพื้น เทลาดจากทิศใต้ลงสู่ทิศเหนือจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจริญด้วยลาภยศบริวารอีกประเภทคือ พื้นที่สูงทางทิศตะวันตก แล้วค่อย

ลาดเอียง ไปทางทิศตะวันออก ดินสะอาด หรือมีสีขาว สีเหลือง สีแดง ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ซึ่งจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความ
สุขปราศจากโรคภัย  ส่วนประเภทที่สามได้แก่พื้นภูมิบ้านที่มี ลักษณะราบเรียบเสมอดินสะอาดและปราศจากกลิ่นรส 
เป็นทำเลที่ไม่ให้คุณและโทษใช้เป็น ที่อยู่อาศัยได้

- ส่วนข้อห้าม ได้แก่ ห้ามปลูกบ้านตรงพื้นที่เฉอะแฉะ สกปรก ดินเลนสีดำ ดินมีหลากสี มีกลิ่นไม่บริสุทธิ์
ห้ามปลูกบ้านเดือน 4 ให้ปลูกบ้านเดือน 10 การทำบันไดบ้านต้องหันไปทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกจำนวนบันไดต้องเป็นเลขคี่ ห้ามปลูกเรือนคร่อมคู คลองหรือแอ่งน้ำ เป็นต้น
- การคัดเลือกเสาเรือน   ภาคใต้ให้ความสำคัญกับเสาเรือนซึ่งเป็นโครงสร้างรากฐานสำคัญ เช่นเดียวกับภาคกลางและภาคเหนือ กล่าวคือ เสาเอก ต้องไม่มีตำหนิ มีตา ไม่ตกน้ำมัน นำมาตกแต่ง ด้วยผ้าแดง หรือด้ายดิบสามสี (แดง เหลือง ขาว) คาดติดไว้กึ่งกลางเสาพร้อมด้วยกล้ามะพร้าว และต้นอ้อย บางท้องถิ่นใช้รวงข้าว ขวดน้ำกล้ามะพร้าว หน่อกล้วยผูกติดกับเส
- ข้อห้ามและคติอื่น ๆ การปลูกเรือนแต่ก่อนมีคติถือกันว่า ถ้าปลูกเรือน " ขวางตะวัน "    คือ หันข้างเรือนไปทางทิศตะวันออกหรือตกไม่ดี คนอยู่จะไม่มีสุข มักเป็นเหตุให้เสียตา เพราะไปขวางหน้าตะวัน ถ้าจะปลูกเรือนให้ปลูก   " ตามตะวัน" คือ หันข้างเรือนไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ จึงจะเป็นมงคล อยู่เย็นเป็นสุขสบายดี ถ้าเนื้อที่บ้านคับแคบ ปลูกเรือน   ให้หันข้างเรือนไปตามดวงตะวันไม่ได้ ก็ต้องหาทางปลุกให้เฉียงตะวัน   คือ อย่าหันข้างเรือนตรงกับตะวันนักก็ใช้ได้ เช่นกัน คตินี้ถือปฏิบัติกันในภาคกลาง และใต้ ส่วนภาคเหนือ จะวางเรือนขวางตะวันแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
- จำนวนบันไดของเรือนในทุกภาค ไม่นิยมทำเป็นเลขคู่ มักทำลูกขั้นบันไดเป็นเลขคี่ คือ 1-3

2. ประเพณี พิธีกรรมในสังคมไทย 
     คำว่า ประเพณี (tradition) กับคำว่าพิธีกรรม (rite) มีความหมายใกล้เคียงกันมาก บางครั้งก็ใช้ในความหมายเดียวกัน แต่เท่าที่ผ่านมา คำแรก น่าจะมีความหมายกว้างกว่าคือ กินความไปถึงวิถีชีวิต (way of life) ในขณะที่คำว่า พิธีกรรมมีความหมายไปในเชิงพิธีการ หรือกิจกรรมเฉพาะกิจมากกว่า พิธีกรรมที่พบในสังคมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ พิธีกรรมตามเทศกาล (festival) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต (rite of passage) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพิธีกรรมที่แจกแจงแยกย่อยนี้ ก็ยังมีความเหลื่อมซ้อนกันด้วย 
2.1.พิธีกรรมตามเทศกาล
ในรอบปีหนึ่ง ๆ จะมีเทศกาลหรือวาระสำคัญมากมาย เช่น ในราชสำนักก็จะมีพระราชพิธีสิบสองเดือน หรือทางภาคอีสานก็จะมี ฮีตสิบสองเดือน เป็นต้น พิธีกรรมตามเทศกาลจึงมักเป็นพิธีกรรมชุมชนหรืออาจเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากินก็ได้ สามารถทราบกำหนดเวลาของงานได้ชัดเจน ในขณะที่เราอาจรู้กำหนดการจัดพิธีกรรมวงจรชีวิตได้ในบางพิธีเท่านั้น เช่นเรากำหนดวันบวช วันแต่งงานได้ แต่กำหนดวันถึงแก่กรรมไม่ได้ ยกเว้นบางรายแต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก พิธีกรรมตามเทศกาลจึงต้องทำทุกปี ในขณะที่พิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิตอาจไม่ทำทุกปีในครอบครัวเดียวกัน  นอกจากนี้ พิธีกรรมตามเทศกาลเฉพาะที่ปรากฏในสังคมไทยซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น น่าสังเกตว่าในแต่ละปีจะมีเทศกาลถือศีลเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลในเรื่องของการรักษาจิตใจให้สงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยา พร้อมกับการรักษาสุขภาพกายไปในตัว โดยเฉพาะการงดบริโภคอาหารบางจำพวก หรืองดเป็นช่วงเวลา เช่น ในกลุ่มพี่น้องชาวอิสลามจะมีพิธีถือศีลอด (ตลอดเดือน) งดบริโภคอาหาร-น้ำก่อนตะวันตกดินไปจนถึงตะวันขึ้นของอีกวันหนึ่ง ในขณะที่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนจะมีเทศกาลกินเจ งดการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นเวลาสิบวัน ส่วนพี่น้องชาวไทยนั้นมีเทศกาลเข้าพรรษาที่พุทธศาสนิกชนจะถืออุโบสถศีล (ศีลแปด ซึ่งมีข้อห้ามในการบริโภคอาหารยามวิกาล งดบริโภคเครื่องดองของเมา บทบัญญัติในศาสนาเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ต้องการให้มนุษย์หยุดสำรวจตนเองทั้งกายและใจ อย่างน้อยก็อาจเป็นกุศโลบายให้ระบบย่อยอาหารในร่างกายได้มีโอกาสพักฟื้นการทำงานลงบ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า เทศกาลถืออุโบสถศีลนี้เริ่มจากเข้าพรรษาในช่วงกลาง ๆ ปี ไปจนถึงออกพรรษาในช่วงต้น ๆ ของปลายปี ซึ่งจะซ้อนเหลื่อมหรือไล่เลี่ยกับเทศกาลกินเจกับเทศกาลถือศีลอดทน อย่างไรก็ตามเทศกาลเหล่านี้ก็ควรได้รับการพิจารณาทบทวนว่าดำเนินไปอย่างที่ไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตโดยปกติของคนส่วนใหญ่ หรือทำกันเป็นค่านิยมหรือตื่นตามกระแสสังคม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เทศกาลกินเจตามคติจีนที่ภายหลังทำให้พืชผักมีราคาสูงกว่าปกติมาก และเครื่องประกอบอาหารเจบางชนิดก็เข้าสู่กระแสธุรกิจแบบทุนนิยมมากขึ้น จนเกิดการโฆษณาแข่งขันกันอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการบิดผันเจตนารมณ์ของการกินเจไปเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์อันไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของกุศลจิตในเรื่องกินเจ 

2.2. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต
         ในชั่วชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งตายย่อมจะต้องผ่านเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิตหลายช่วงด้วยกัน ดังนั้น จึงต้องมีพิธีกรรมในแต่ละช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เพื่อเสริมความมั่นใจ กล่าวคือ เมื่อแรกเกิดก็ต้องมีพิธีทำขวัญเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่เกิดมานั้นจะมีชีวิตรอดได้ไม่ตายเสียใน 3 วัน 7 วัน เมื่อโตขึ้นย่างเข้าสู่วัยรุ่นก็มีพิธีโกนจุก เพื่อแสดงว่าเด็กนั้นกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจะได้เป็นคนที่มีกำลังใจมั่นคง และประพฤติแต่สิ่งที่ชอบที่ควร เฉพาะผู้ชายยังต้องเข้าพิธีบวชเรียนอีก 3 เดือนเมื่ออายุ 20-21 ปี จากนั้นก็ถึงระยะของการสร้างครอบครัว ต้องเข้าพิธีหมั้นและแต่งงาน เมื่อเจ็บไข้หรือประสบเคราะห์ก็ยังต้องประกอบพิธีเรียกขวัญหรือสะเดาะเคราะห์ เช่นภาคกลางมีพิธีสวดโพชฌงค์ต่ออายุ ส่วนทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตา และเมื่อตายไปก็ยังต้องทำพิธีเกี่ยวกับงานศพ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการปลอบประโลมญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง พิธีกรรมในวงจรชีวิตจะช่วยเสริมความเข้มแข็งสามัคคีในหมู่เครือญาติได้ดี 
2.3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ 


เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาทมีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า ถูกฟ้าดินลงโทษซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนัก

พวกกะเหรี่ยง สะกอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกันภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทงวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกติ นอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้าจะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูตผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้ ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน  ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี สติอาจทำให้ไม่เสีย สตังค์ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่างของ 2 คำนี้ คือ

- ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
- พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)
จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่ เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ
3.ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้าน
       ศิลปะพื้นบ้าน (Folk) หมายถึง ศิลปะที่มีความงามความเรียบง่ายจากฝีมือของชาวบ้านทั่วๆ ไปสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทางด้านความงาม และประโยชน์ใช้สอยตามสภาพของท้องถิ่น  ศิลปะชาวบ้านเช่น การร้องรำทำเพลง การวาดเขียน และอื่นๆ ซึ่งมีกำเนิดมาจากชีวิตจิตใจของประชาชน ศิลปะชาวบ้านหรือศิลปะพื้นบ้านส่วนใหญ่จะเกิดควบคู่กับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ภายใต้อิทธิพลของชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และความจำเป็นของสภาพท้องถิ่น เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน       
 โดยทั่วไปแล้ว “ศิลปะพื้นบ้าน” จะเรียกรวมกับ “หัตถกรรม” เป็น “ศิลปหัตถกรรม” ซึ่งศิลปหัตถกรรมนั้นเกิดจากฝีมือของคนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง การประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นไปตามเทคนิคและรูปแบบที่ถ่ายทอดกันในครอบครัวโดยตรงจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย โดยจุดประสงค์หลักคือทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน งานศิลปหัตถกรรมได้ถ่ายเทและมีอิทธิพลแก่กันและกัน เช่นเดี่ยวกับคติพื้นบ้านแล้วปรับปรุงให้เข้ากับสภาพของท้องถิ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
  

4. -ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน
    มนุษย์จะนำอาหารมาบริโภคเพื่อการอยู่รอดแล้ว มนุษย์ยังได้นำเทคนิคการถนอมอาหารและการปรุงอาหารมาใช้ เพื่อให้อาหารที่มีมากเกินความต้องการสามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานานซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังนำผักพื้นบ้านชนิดต่างๆมาบริโภคอีกด้วยอาหารไทยภาคเหนือ
อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ
คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาดเนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมาคือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล
อาหารไทยภาคกลาง
โดยทั่วไปคนภาคกลางรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานนำเล็กน้อย วิธีการปรุงอาหารซับซ้อนขึ้นด้วยการนำมาเสริมแต่ง หรือประดิดประดอยให้สวยงาม เช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำพริกกะปิ จัดให้สวยงามด้วยผักแกะสลักเป็นต้น ลักษณะอาหารที่รับประทาน มักผสมผสานกันระหว่างภาคต่างๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้าน้ำพริกอ่อง เป็นต้น
ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลักอาหารเย็นมีกับข้าว 3-5 อย่าง ได้แก่ แกงจืดหรือแกงส้มหรือแกงเผ็ด เช่น พะแนง มัสมั่นแห้ง ไก่ผัดพริก หรือยำ เช่น ยำถั่วพู ยำเนื้อย่าง อาหารประจำของคนไทยภาคกลางคือ ผัก น้ำพริก และปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอด หรือหมูย่างอีกจานหนึ่งก็ได้โดยคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับอาหารไทยภาคใต้ต่างกันต่างกันอย่างไร
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาหารจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ รับประทานกับลาบไก่ หมู เนื้อ หรือ ลาบเลือด ส้มตำ ปลาย่าง ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า อาหารภาคนี้จะนิยมปิ้ง หรือย่างมากกว่าทอดอาหารทุกชนิดต้องรสจัด เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่ชาวบ้านหามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง แมลงบางชนิด ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ และเนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็นิยมตามความชอบ และฐานะ สำหรับอาหารทะเลใช้ปรุงอาหารน้อยที่สุด เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาแพงอีกด้วย
อาหารไทยภาคใต้
อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้ม ก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำมีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลา หอยนางรม และกุ้งมังกรเป็นต้น
ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียวเวลารับประทานต้องปอกเปลือก แล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุกแล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริกหรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้

 สมุนไพรแต่ละชนิดมีรสและสรรพคุณแตกต่างกันไป เมื่อนำมาปรุงหรือผสมเป็นยาขนานใดขนานหนึ่ง ก็มักประกอบด้วยตัวยาหลากรส เพื่อให้สรรพคุณเสริมกันทำให้เกิดผลในทางบำบัดได้เร็ว เชื่อกันว่าเลือดและน้ำดีเป็นส่วนสำคัญต่อสมุฏฐานของโรคนานาชนิด ยากลางบ้านทุกชนิดจึงต้องมีรสขมเจือไว้ และมักมีตัวยาที่มีรสเบื่อเมาปนอยู่ด้วยเพื่อให้ถอนพิษ ต้องการให้มีสรรพคุณเด่นในทางใด ก็ให้มีส่วนผสมเด่นในทางนั้น รสของยากลางบ้านมักขื่นไม่น่ารับประทาน รสต่างกันสรรพคุณก็จะต่างกันด้วย คนโบราณได้แบ่งรสยาออกเป็น 3 รสกว้าง ๆ คือ
1. ยารสร้อน 


ใช้เป็นยาประเภทขับลม แก้จุกเสียด แน่นท้อง เช่น จำพวก ขิง ข่า พริกไทย ดีปลี เบญจกูล คนที สอทะเล กระเพราแดง กระวาน เป็นต้น เป็นรสยาประจำฤดูฝน

2. ยารสเย็น

ใช้เป็นยาประเภทลดไข้ เช่น เกสรดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ รากรากมะเฟือง ตำลึง สารภี รางจืด ใบพิมเสน รากลำเจียก เมล็ดฝักข้าว ไม้ เขี้ยว งา เขา นอ เป็นต้น เป็นรสยาประจำฤดูร้อน

3. ยารสสุขุม

ใช้เป็นยาแก้ลมหน้ามืด ใจสั่น เช่น โกฐต่าง ๆ เทียน กฤษณา อบเชย จันทน์เทศ ชะลูด เป็นต้น เป็นรสยาประจำฤดูหนาว
 สมุนไพรที่นำไปใช้รักษาบำบัดอาการต่างๆ จะนำไปใช้หลายลักษณะ คือ

1. ยาลูกกลอน คือยาที่บดหรือตำเป็นผง ผสมด้วยน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม แล้วคลึงเป็นก้อนสำหรับกลืนกิน

2. ยาผง คือยาที่บดหรือตำละเอียด ใช้ละลายน้ำกระสาย กิน ทา โรย ป้าย นัด แล้วแต่ชนิด

3. ยาต้ม คือยาที่นำมายาที่นำเครื่องยามาตัดเป็นท่อนหรือเป็นชิ้น ใส่ภาชนะที่ทำด้วยดินเผา

หรือปี๊บ ใส่น้ำให้ท่วมตัวยา แล้วต้มหรือเคี่ยวตามต้องการ 

4. ยาดอง คือยาที่แช่ด้วยเหล้า ส่วนใหญ่จะใช้เหล้าขาว กินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำ

5. ยาตั้ง คือยาที่ทำเป็นแท่ง ใช้วางทาบตรงปากบาดแผลเพื่อให้ยาดูดพิษร้ายออก

6. ยาเหน็บ คือยาที่ทำเป็นก้อนหรือเป็นแท่ง ใช้เหน็บหรือรักษาแผลในช่องทวาร มักใช้ในการรักษาริดสีดวงทวารงอกเพื่อให้ยุบ หรือหดตัว

7. ยาอม คือยาที่ทำเป็นเม็ด มักมีรสหวาน เมื่ออมแล้วจะค่อย ๆ ละลาย

8. ยาชง คือยาที่ต้องชงด้วยน้ำร้อน โดยมากใช้ดื่มเพื่อบำรุง

9. ยาทา คือยาน้ำหรือยาผงที่ใช้ทาภายนอก

10. ยาดม ยาที่มีกลิ่นระเหย อาจปล่อยให้ระเหย หรือใช้ผ้าห่อ แล้วดมกลิ่น

11. ยารม คือยาที่ต้องเผาไฟให้เกิดควันแล้วใช้ไอรม

12. ยาอาบ คือยาที่ต้มแล้วอาบ

13. ยาแช่ คือยาที่ผสมด้วยน้ำแล้วลงแช่

14. ยาเป่า คือยาที่ผสมแล้วทำเป็นผง ใช้กล้องเป่า

15. ยามวน คือยาที่ทำเป็นมวนแล้วสูบเอาควัน

16. ยาบ้วน คือยาน้ำที่อมแล้วบ้วนทิ้ง

17. ยาประคบ คือยาที่ทำเป็นลูกประคบ

18. ยาสกัด คือยาที่ต้มกับพวกพฤกษชาติ ใส่น้ำเคี่ยวจนน้ำยางวดเป็นแท่ง

19. ยาน้ำส้ม คือยาที่สกัดในน้ำส้ม

20. ยาน้ำกระสาย คือยาที่ผสมกับน้ำมันของหอม

21. ยาสุม คือยาที่ละลายด้วยน้ำ แล้วชุบผ้าหรือสำลีให้ชุ่ม นำไปพอกหรือปิดทับไว้เพื่อให้

เกิดความเย็นหรือเปียกชุ่ม


5. -ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน
                การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ การเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะการแสดง

พื้นเมือง หมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ

การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้
การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดง การร่ายรำ มีเพลงดนตรีประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลาย

การแสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงรื่นเริง

เพลงพื้นเมือง หมายถึง เพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลง ไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดในท้องถิ่นของตน นิยมร้องเล่นกันในเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และในการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นการเล่นที่สืบต่อกันมา

เนื้อความของเพลงพื้นเมืองที่นิยมร้องกัน มักจะเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ปะทะคารมกัน ในด้านสำนวนโวหาร สิ่งสำคัญของการร้องคือ การด้นกลอนสด ร้องแก้กันด้วยปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งสองฝ่า

การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ
ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวาน

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
ลีลาการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
เครื่องแต่งกาย เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆ

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนดวงดอกไม้ ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนมาลัย ฟ้อนไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำชาวเขา รำกลองสะบัดไช




คำว่า ทีหมายถึง ร่มเป็นคำภาษา ไตใช้เรียกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทีทางภาคเหนือมีลักษณะและรูปทรงแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด ทีที่ชาวแม่ฮ่องสอนนิยมใช้มีรูปทรงสวยนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำได้ฟ้อนทีเป็นผลงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฎศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอน มีการแปรแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม การหุบร่ม เป็นต้น 

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย กรับคู่ กลองพื้นเมือง 

การแต่งกาย มุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมภาคเหนือ แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบหญิงไทลื้อ และแบบหญิงล้านนาแบบไทลื้อ นุ่งซิ่นลายขวาง เสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้าคาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว เกล้าผมมวยตั้งกระบังผมหน้าสูง ประดับดอกไม้เงิน เครื่องประดับมีเข็มขัด กำไลข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที 
กลองสะบัดชัย





การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศรีษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันเครื่องดนตรี เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย
เพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น


เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้
ตัวอย่างเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ

เพลงซอ ทำนองซอละม้ายหญิง
น้อยมานพอ้ายจะมาเป็นกู่ พี่มานพ ที่จุมาเป็นกู่
อ้ายช่างมีความฮู้ ติดตั๋วท่องหา พี่มีความรู้บ้างไหม
จะมาเป็นผัวมันต้องมีปัญญา ที่จะมาเป็นสามีต้องมีความรู้ปัญญา
ถ้าบ่หมีวิชาเอากั๋นตึงบ่ได้ ถ้าไม่มีวิชา แต่งงานกันไม่ได้
หากมานพจะมาเป็นผัว หากมานพจะมาเป็นสามี
ตั๋วจะต้องมีความฮู้เอาไว้ พี่ต้องมีความรู้เอาไว
หน้าต๋ากะหลวก ถ้าใจ่ก๋านบ่ได้ หน้าตาก็ฉลาด ถ้าใช้ทำงานไม่ได้
แล้วไผจะเอาอ้ายมานอนโตย แล้วใครจะเอาพี่มานอนด้วย
น้อยมานพจะมาเป็นกู่ พี่มานพจะมาเป็นคู่
ถ้าบ่หมีความฮู้ ข้าเจ้าตึงบ่เอาเป็นผัว ถ้าไม่มีความรู้น้องก็ไม่เอา มาเป็นสามี
สมัยเดี๋ยวอี่บัวตองตึงกั๋ว สมัยปัจจุบันนี้น้องบัวตองกลัว
บ่มีความฮู้ติดตั๋วเอากั๋นตึงบ่ได้ ไม่มีความรู้ติดตัวแต่งงานกันไม่ได้
ป่อแม่ข้าเจ้าตึงบ่เปิงใจ๋ พ่อแม่ของน้องจึงไม่พอใจ
กั๋วเอาของไปชุบบ่ตาย กั๋วอับ กั๋วอาย กลัวว่าจะเอากันไปใช้เปล่าๆ
ไปแผวปี่ แผวน้อง จิ่มแหล่นอ กลัวจะอายไปถึงพี่น้อง



การละเล่นพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี 

การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น


ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส

การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ
ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง





การเล่นหมากกั๊บแก๊บ เป็นการเล่นที่ไม่มีขนบตายตัว สุดแท้แต่ผู้แสดงจะมีความสามารถ แสดงออกลีลา ท่าทางที่โลดโผน เป็นที่ประทับใจสาว ๆ ได้มากน้อยเพียงใด ถ้าเล่นกันเป็นคู่ ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นฝ่ายรุก อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องรับ แล้วผลัดเปลี่ยนกันไป ตามแต่โอกาสและปฏิภาณไหวพริบของผู้เล่น โดยอาจารย์ชุมเดช เดชภิมล แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด เป็นผู้ผสมผสานการเล่นหมากกั๊บแก๊บ เข้ากับการเล่นลำเพลินของชาวอีสาน ที่ยังคงลีลาการเล่นหมากกั๊บแก๊บและลีลาของการฟ้อนลำเพลินได้อย่างสมบูรณ์แบบ 
จุดเด่นของการแสดงอยู่ที่จังหวะ ลีลาและท่วงทำนอง ของดนตรี อันสนุกสนานเร้าใจ





เป็นฟ้อนผู้ไทที่มีลีลาแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครจะสวมเล็บ คล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดง ใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ 

ท่าฟ้อนที่ชาวผู้ไทสกลนครประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีเนื้อเพลงสลับกับทำนอง การฟ้อนจึงใช้ตีบทตามคำร้องและฟ้อนรับช่วงทำนองเพลง 
ท่าฟ้อนมีดังนี้ ท่าดอกบัวตูม ท่าดอกบัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด ท่านาคีม้วนหาง 
ดนตรีใช้กลองกิ่ง แคน กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บ

เครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพลงผู้ไท เพลงเต้ยโขง เพลงแมงตับเต่า เพลงบ้งไต่ขอนเพลงลำเพลินและเพลงลำยาว





โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง

ส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีฆ้องดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม 
การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น

เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ

ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย ภูไทสามเผ่า ไทภูเขา เซิ้งกระติบข้าว
เพลงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่น หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน
การละเล่นพื้นเมืองภาคกลาง
ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง

ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย

เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ รำแม่ศรี

เช่น รำกลองยาว






รำกลองยาวหรือบางครั้งเรียกว่ารำเถิดเทิง สาเหตุที่มีชื่อเรียกว่ารำเถิดเทิงก็เนื่องมาจากเสียงกลองยาวที่เวลาตีมีเสียงคล้าย ๆ คำว่าเถิดเทิงนั่นเอง การแสดงชุดนี้ใช้แสดงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หรือในงานบวช 

เครื่องแต่งกายแสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของภาคกลาง
รำกลองยาว สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่าทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรีในเวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น "กลองยาว" พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง มีทำนองพม่า เรียกกันแต่เดิมว่า "เพลงพม่ากลองยาว" 

ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศีรษะโพกผ้าสีชมพู มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้ จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า "เพลงพม่ารำขวาน" 
ต่อมาการแสดงเถิดเทิงได้มีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น โดยมีการแต่งกายที่เป็นแบบอย่างไทย กำหนดท่ารำใหัมีความเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น และมีกลองยาวเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง



ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์
เพลงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัย เพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพ ลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่วซอ
เพลงพื้นเมืองบางอย่างได้วิวัฒนาการมาเป็นการแสดงที่มีศิลปะ มีระเบียบแบบแผน เช่น เพลงทรงเครื่อง คือ เพลงฉ่อย ที่แสดงเป็นเรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน หรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่

ลักษณะการแสดง เริ่มด้วยการไหว้ครู แล้ว่าประ แก้กันอย่างเพลงฉ่อยตามประเพณี แล้วก็แสดงเป็นเรื่องอย่างละคร ร้องดำเนินเรื่องด้วยเพลงฉ่อย และเพลงอื่นแทรกบ้าง ใฃ้วงปี่พาทย์รับการร้องส่งบ้างหรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาของตัวละครบ้าง

การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้
โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้ 

การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น

เช่น ตะลุง





เป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ ที่มีมานานจนยังหาต้นตอดั้งเดิมไม่ได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคใด สมัยใด คงมีการบันทึกไว้ในระยะหลังที่เป็นหลักฐานแต่ เท่าที่มีการจดบันทึกได้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำหนังตะลุงจากภาคใต้มาแสดงถวายทอดพระเนตรที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙
การแสดงหนังตะลุง แต่เดิมจะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น ต่อมาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้น เริ่มนำเรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ มาแสดง ปัจจุบันหนังตะลุงนำนวนิยายรักโศก เหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมาแสดง บางคณะก็แต่งบทนวนิยายเอง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวอิจฉา การเล่นหรือเชิดหนังตะลุงในช่วงหัวค่ำ ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการออกลิงขาว ลิงดำ หรือที่เรียกว่าจับลิงหัวค่ำซึ่งปัจจุบันนี้ก็ไม่มีแล้ว
คณะหนังตะลุง ประกอบด้วย นายหนัง ๑ คน ซึ่งมีเป็นเจ้าคณะเป็นผู้เชิดตัวหนัง พากย์และเจรจา ร้องรับและเล่นดนตรีด้วย ชื่อคณะมักจะใช้ชื่อของนายหนังเป็นชื่อคณะ เช่น หนังจูเลี่ยม กิ่งทอง ลูกคู่ ๕-๖ คน
โรงหนังตะลุง จะปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ฝาและหลังคามุงด้วยจากหรือทางมะพร้าว สูงจากพื้นดินราว ๑๕๐-๑๗๐ เซนติเมตร เป็นโรงสี่เหลี่ยม มีบันไดขึ้นด้านหลัง ใช้พื้นที่ราว ๘-๙ ตารางเมตร ด้านหน้าโรงจะมีจอผ้าขาวขอบสีน้ำเงินขึงเต็มหน้าโรง มีไฟส่องตัวหนังให้เกิดภาพ หน้าจอมีหยวกกล้วยทั้งต้น สำหรับปักตัวหนังวางอยู่ขอบล่างของจอด้านใน ลูกคู่และดนตรีจะนั่งอยู่ถัดจากนายโรง
ตัวหนัง ทำจากหนังวัวแกะและฉลุ ขนาดจะต่างกันไปตามบทบาทของหนัง เช่น รูปเจ้าเมือง รูปยักษ์ รูปฤาษีจะมีขนาดใหญ่กว่ารูปอื่น คณะหนึ่ง ๆ จะมีตัวหนังราว ๑๕๐-๒๐๐ ตัว เวลาเก็บหนังจะแยกกันเก็บ เช่น ยักษ์ พระ นาง จะแยกกัน รูปฤาษี เทวดา ตัวตลกจะเก็บไว้บนสุด เก็บเป็นแผงซ้อน ๆ กัน มีไม้ไผ่สานเป็นเสื่อลำแพนหนีบอยู่ทั้งบนและล่าง และใช้เชือกผูกเก็บเป็นแผง ๆ

ดนตรีประกอบการแสดง ประกอบด้วยโหม่ง ๒ ใบ ทับโนรา ๒ ใบ กลองโนรา ๒ ใบ ปี่ ๑ เลา
ความยาวของการแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒-๖ ชั่วโมง


                                         



บรรณานุกรม

นายวรายุทธ อินทนนท์. 2552.ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย  [Online].  Available:
 http://www. adbandon.com เข้าถึงเมื่อวันที่  13 กุมภาพันธ์ 2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น